แผนกลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1)
    1) ยุทธศาสตร์ชาติที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
        (1) เป้าหมาย ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
        (2) ประเด็นยุทธศาสตร์ 5 อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
        (3) การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ศูนย์ศิลปะการออกแบบและนวัตกรรมธุรกิจอาหาร จะเป็นแหล่งเรียนรู้     และเป็นที่แหล่งให้คำปรึกษาด้านอาหารให้แก่ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ของอาหารที่มีอยู่เดิมให้        
มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของท้องตลาด
(โปรดระบุว่าโครงการของท่านสามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างไรบ้าง)

1.4.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 2)
    1) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 11 แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การพัฒนา ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
        (1) เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ                 
              เป้าหมายที่ 1 แรงงานมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต มีทักษะอาชีพสูง ตระหนักในความสำคัญที่จะพัฒนาตนเอง                ให้เต็มศักยภาพสามารถปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ตามพลวัตของโครงสร้างอาชีพและความต้องการของตลาด                    แรงงานเพิ่มขึ้น
              การบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ
                    ศูนย์ศิลปะการออกแบบและนวัตกรรมธุรกิจอาหารจะเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นแหล่งให้คำปรึกษาด้านอาหารให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่ง Re-skill (เรียนรู้ทักษะใหม่) และ Upskill (ต่อยอดพัฒนาทักษะที่มีอยู่ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น) รวมทั้งแหล่งเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
         (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ แผนย่อยการพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน
              ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือให้เป็นผู้ประกอบการใหม่และสามารถพัฒนาต่อยอดความรู้ในการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ และมีโอกาสและทางเลือกทำงานและสร้างงาน

1.4.3 แผนการปฏิรูปประเทศ (แผนระดับที่ 2)
     1) เรื่อง/ประเด็นการปฏิรูปที่ 5 การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ที่ 5.7 การปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประสิทธิภาพ และธรรมาภิบาลของระบบอุดมศึกษา
     2) ขั้นตอนการดำเนินงาน การวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบัณฑิต โดยการบูรณาการการเรียนการสอนให้ฝึกประสบการณ์ด้านวิชาชีพ โดยมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการ
     3) กิจกรรม
         กิจกรรม 3 พัฒนายุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ และการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
         กิจกรรม 5 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับภาคเอกชนและ สถานประกอบการในการจัดหลักสูตรผลิตบัณฑิต
การพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนทรัพยากร การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแลกเปลี่ยนและจัดการความรู้ระหว่างกัน ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการวิจัยให้แก่องค์กรภาคเอกชน
     4) เป้าหมายกิจกรรม
        ยุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิต ที่ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ และการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
        การสร้างความร่วมมือในการผลิตและพัฒนาบุคลากร ระหว่างภาครัฐ เอกชน และ สถานประกอบการ ทั้งในด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี และการวิจัยนวัตกรรม ภาคเอกชนและสถานประกอบการมีความพึงพอใจในคุณภาพของบัณฑิตเพิ่มขึ้นเป็นการพัฒนาบุคลากรที่เป็นความร่วมมือในลักษณะ Public Private Partnership

1.4.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
      1) วัตถุประสงค์ที่ 1.2 เพื่อเตรียมคนในสังคมไทยให้มีทักษะในการดำรงชีวิตสำหรับโลกศตวรรษที่ 21
1.3 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีตลอดช่วงชีวิต
      2) เป้าหมายรวมที่ เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ค่านิยมที่ดี มีจิตสาธารณะ และมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี ครอบครัวอบอุ่น ตลอดจนเป็นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
      3) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (หลัก)
          (3.1) เป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ที่ เป้าหมายที่ 2 คนในสังคมไทยทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ และความสามารถเพิ่มขึ้น 2.3 วัยแรงงานมีความรู้และทักษะเป็นไปตามความต้องการของตลาดงานและมีทักษะทางการเงินเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
          (3.2) แนวทางการพัฒนาที่ 3.3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
           3.3.4 ส่งเสริมมาตรการสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการขนาดกลางที่มีศักยภาพเข้าร่วมระบบทวิภาคีหรือสหกิจศึกษา สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ ครูฝึกหรือครูพี่เลี้ยงให้ร่วมวางแผนการจัดการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติ และการติดตามประเมินผลผู้เรียน
           3.3.5 ขยายความร่วมมือระหว่างสถาบันอาชีวศึกษา สถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนางานวิจัยไปสู่นวัตกรรม รวมทั้งขยายการจัดทำและการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะให้มากขึ้น
          (3.3) แนวทางการพัฒนาที่ 3.4 ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและให้ทุกภาคส่วนคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ 3.4.4 ผลักดันให้มีกลไกการประเมินผลกระทบสุขภาพในการจัดทำนโยบายสาธารณะตามแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพที่เชื่อมโยงตั้งแต่นโยบายระดับชาติ พื้นที่ และชุมชนที่จะนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
          (3.4) แนวทางการพัฒนาที่ 3.7 ผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็ง 3.7.3 ส่งเสริมสถาบันการศึกษาให้เป็นแหล่งบริการความรู้ทางวิชาการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มีการเผยแพร่งานวิจัยสู่สาธารณะ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการทำวิจัยร่วมกับชุมชนใน การแก้ปัญหาและตอบโจทย์การพัฒนาในพื้นที่
4) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม (รอง)
          (4.1) เป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมของภาครัฐ
          3.2.2 บริหารจัดการการให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ผ่านการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยตั้งแต่ระดับชุมชนไปสู่ระดับจังหวัด ภาค และระดับประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นควบคู่ไปกับบริหารจัดการการให้บริการระบบควบคุมโรคที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางในพื้นที่ห่างไกล
1.4.5 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ         
      1) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติที่ 11 : รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองรับวัตถุประสงค์ที่ 3.4.6 เพื่อให้การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหาร มีความมั่นคงความยั่งยืนและมีความสมดุลกับการขยายตัวของการพัฒนาประเทศ รวมถึงลดความเสี่ยงจากผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์
      2) แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ รองรับนโยบายที่ 3.7.19 การรักษาความมั่นคงด้านทรัพยากร รรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองรับนโยบายที่ 11 : รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและกลยุทธ์ ดังนี้
      3) เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็น
รากฐานการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน
      4) ตัวชี้วัด
            (1) ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาอย่างสมดุล
            (2) ระดับความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพและสามารถป้องกันหรือ ลดผลกระทบต่อชุมชนจากการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลและพันธกรณีของไทย
      5) กลยุทธ์
            (1) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยกำหนดพื้นที่การอนุรักษ์ที่ชัดเจน
            (2) เสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีจิตสำนึกและตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมั่นคงและยั่งยืนตามแนวทางประชารัฐ
            (3) เสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการปกป้องสิทธิชุมชน และแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับประชาชนโดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายการคลัง และการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
            (4) เพิ่มประสิทธิภาพกลไกตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยคุกคามทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภายนอกประเทศ โดยเฉพาะปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ การลักลอบนำเข้าวัตถุมีพิษ สารเคมีอันตรายและกากของเสียต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมของต่างชาติที่เข้ามาทิ้งในอาณาเขตของประเทศไทย และปล่อยของเสียกระทบสิ่งแวดล้อม
             (5) ส่งเสริมการผลิต การบริโภค การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ การปรับปรุงกฎหมายระเบียบ เพื่อให้มีการรักษา คุ้มครองและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สามารถเจริญเติบโตควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม
             (6) ส่งเสริมการรวมตัวในระดับภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นภาคีด้านการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งส่งเสริมการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน เช่น หมอกควันจากไฟป่า และขยะทะเล เป็นต้น
หมายเหตุ : สามารถสอดคล้องได้มากกว่า 1 นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ/แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ/เป้าหมาย/กลยุทธ์

1.4.6 แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      1) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างสรรค์การวิจัยเชิงพาณิชย์ พัฒนานวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
      2) กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพการบริการวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการน้อมนำแนวพระราชดำริไปใช้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
     3) ตัวชี้วัดที่ 3.1 จำนวนชุมชนที่ได้รับการพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบหรือเป็นศูนย์การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย

1.4.7 แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
      1) ยุทธศาสตร์
           1.1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น
          1.2) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา
     2) ตัวชี้วัด
          2.1) ตัวชี้วัดที่ 1.4 จำนวนโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยและจำนวนโครงการสะสม (แยกตามประเภทเป้าหมาย)
          2.2) ตัวชี้วัดที่ 3.1 จำนวนหลักสูตรที่ปรับปรุงให้ทันสมัยและหลักสูตรใหม่ในรูปแบบสหวิทยาการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ 

Site was created with Mobirise website templates